วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2554

แบบฝึกหัด ครั้งที่ 1 ส่งวันที่ 18/6/54

ได้ เพราะ การผิดพลาดจากการทำงานคอมพิวเตอร์นั้นเกิดได้หลายแบบ ดังนี้
• อาการของ RAM หายไปดื้อ ๆ จะเกิดกับการใช้เมนบอร์ดรุ่นที่มี VGA on board ที่จริงก็ไม่ได้หายไปไหน เพียงแต่ส่วนหนึ่งของ RAM จะถูกนำไปใช้กับ VGA และขนาดที่จะ โดนนำไปใช้ก็อาจจะเป็น 2M, 4M, 8M ไปจนถึง 128M.ก็ได้ขึ้นอยู่กับการตั้งใน BIOS การที่ไม่สามารถบูตเข้าสู่วินโดวส์ได้ และมีข้อความขึ้นว่า "Insert System Disk and Press Enter"ทั้งๆที่ไม่ได้ทำการปรับแต่งวินโดวส์เลย
ปัญหานี้เกิดจากบู๊ตเครื่องโดยมีแผ่นดิสก์ที่ไม่มี OS หรือระบบปฎิบัติการอยู่ในไดร์ฟ A ซึ่งขั้นตอนแก้ปัญหาก็ให้เอา แผ่นไดร์ฟ A ออกจากนั้นก็กดปุ่ม Enter เพียงเท่านี้ก็สามารถเข้าวินโดวส์ได้แล้ว
ปัญหานี้มักจะไม่เกิดกับไดร์ฟซีดีรอมตัวใหม่ ๆ แต่ส่วนใหญ่จะเกิดกับไดร์ฟซีดีรอมที่มีการใช้งาน มานานแล้ว หรือประมาณ 1 ปี ขึ้นไป และสาเหตุที่เห็นกันบ่อยก็คือหัวอ่านสกปรก ส่วนใหญ่จะเป็นพวกฝุ่น เข้าไปกับแผ่นซีดี แล้วเราก็นำมันเข้าไปอ่านในไดร์ฟ ฝุ่นก็เลยเข้าไปติดที่หัวอ่าน พอสะสมมาก ๆ เข้าก็เลย ทำให้เกิด อาการดังกล่าว อ่านแผ่นไม่ได้บ้าง หาแผ่นไม่เจอบ้างละ วิธีการแก้ไขก็คือทำความสะอาดหัวอ่าน โดยใช้แผ่นซีดีที่ไว้สำหรับทำความสะอาดหัวอ่าน ที่มีขายอยู่ตามร้านคอมพิวเตอร์ทั่วไปมาใช้ รับรองอาการดังกล่าวจะไม่เกิดขึ้นแน่นอน
• ฮาร์ดดิสก์บูตไม่ขึ้นนั้นหลายครั้งมักเกิดจากความผิดพลาดทางด้านซอฟต์แวร์ ส่วนสาเหตุทางด้านฮาร์ดแวร์นั้นส่วนใหญ่มักเกิดจากฮาร์ดดิสก์มีแบดเซ็กเตอร์ เป็นจำนวนมาก หรือเกิด แบดเซ็กเตอร์บริเวณพื้นที่ที่เก็บข้อมูลสำคัญของฮาร์ดดิสก์จึงทำให้ ฮาร์ดดิสก์ไม่สามารถบูตขึ้นมาได้ โดยจะแสดงอาการเงียบไปเฉยๆ หลังจากที่บูตเครื่องขึ้นมาแล้ว หรืออาจฟ้องขึ้นมาว่า No Boot Device หรือ Disk Boot failure Please insert system disk and please anykey to continue สำหรับวิธีแก้ไขนั้น ให้เราทำการตรวจสอบแบดเซ็กเตอร์โดยอาจบูตเครื่องขึ้นมาด้วยแผ่นบูตแล้วใช้ คำสั่ง Scandisk หรือโปรแกรม Norton Disk Doctor เวอร์ชั่นดอสตรวจสอบแบ็ดเซ็กเตอร์และซ่อมแซมดูก่อน หากมีแบดเซ็กเตอร์มากก็อาจไม่หาย หนทางสุดท้ายคือทำ Fdisk แบ่งพาร์ทิชั่นใหม่แล้วพยายามกันส่วนที่เป็นแบดเซ็กเตอร์ออกไป บางครั้งสาเหตุที่ฮาร์ดดิสก์บูตไม่ขึ้น นิ่งเงียบไปเฉยๆ อาจเกิดจากแผ่น PCB ( แผ่นวงจรด้านล่างของฮาร์ดดิสก์ ) เกิดการช็อต วิธีแก้ไขคือให้นำฮาร์ดดิสก์รุ่นเดียวกัน สเป็คเหมือนกันมาถอดเปลี่ยนแผ่น PCB ก็จะทำให้ฮาร์ดดิสก์ตัวที่ช็อตกลับมาทำงานได้เหมือนเดิม หากต้องการกู้ข้อมูลที่สำคัญกลับมาไม่ควรใช้คำสั่ง Fdisk เด็ดขาดเพราะจะทำให้ข้อมูลที่อยู่ภายในฮาร์ดดิสก์ให้เกลี้ยงไปหมด ในที่นี้แนะนำให้ใช้โปรแกรม Spinrite ในการกู้ข้อมูลสำคัญๆซึ่งโปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมที่ถูกสร้างมาเพื่อกู้ข้อมูลภายในฮาร์ดดิสก์โดยเฉพาะ
• ซีพียูเป็นอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีในการผลิตค่อนข้างสูงภายในมีรายละเอียดซับซ้อนโดยจะมีทรานซิสเตอร์ตัวเล็กๆ อยู่รวมกันนับล้านๆ ตัวทำให้หากมีปัญหาที่เกิดจากซีพียูแล้วโอกาสที่จะซ่อมแซมกลับคืนให้เป็น เหมือนเดิมนั้นเป็นไปไม่ได้เลยช่างคอมพิวเตอร์เมื่อพบสาเหตุอาการเสียที่เกิดจากซีพียูแล้วก็ต้องเปลี่ยนตัวใหม่สถานเดียว ปัญหาที่เกิดขึ้นกับซีพียูส่วนใหญ่แล้วจะมีเพียง 2 อาการ ที่ช่างคอมพิวเตอร์พบได้บ่อยๆ อาการแรกคือ ทำให้เครื่องแฮงค์เป็นประจำ และอาการที่สองคือวูบหายไปเฉยๆ โดยที่ทุกอย่างปกติ เช่นมีไฟเข้า พัดลมหมุน แต่ไม่มีอะไรเกิดขึ้นบนหน้าจอ สาเหตุส่วนใหญ่มักจะเกิดจากซีพียูมีความร้อนมากเกินไปจนเมื่อถึงจุดๆ หนึ่งก็เดี้ยงไปแบบไม่บอกไม่กล่าว เลย สำหรับวิธีแก้ปัญหาก็คือต้องส่งเคลมสถานเดียว
อ้างอิง


2. ให้นักศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องต่อไปนี้ ประวัติการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาในประเทศไทย
คอมพิวเตอร์ในประเทศไทย เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2506 โดยเริ่มใช้ในการศึกษา วิจัย เครื่องที่ใช้ ครั้งแรกคือ เครื่อง IBM 1620 ซึ่งติดตั้งที่คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย และใช้ในการทำสำมะโนประชากร โดยใช้เครื่อง IBM 1401 ซึ่งติดตั้งที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ ผู้ที่ริเริ่มนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้ในประเทศไทยคนแรก คือ ศาสตราจารย์บัณฑิต กันตะบุตร หัวหน้าภาควิชาสถิติและเลขาธิการสถิติแห่งชาติจากนั้นมา เครื่องคอมพิวเตอร์ก็มีใช้ในประเทศไทย ตามลำดับดังนี้
พ.ศ. 2507 : ได้นำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานธุรกิจขนาดใหญ่ คือ บ.ปูนซีเมนต์ไทย
กับ ธนาคารกรุงเทพ
พ.ศ. 2517 : ได้นำคอมพิวเตอร์ไปใช้งานที่ตลาดหลักทรัพย์ ในด้านการซื้อขาย โดย
ใช้ มินิคอมพิวเตอร์
พ.ศ. 2522 : ได้นำ ไมโครคอมพิวเตอร์ ไปใช้ในธุรกิจขนาดเล็กมากขั้น
พ.ศ. 2525 : ได้นำคอมพิวเตอร์มาใช้ในด้านการเรียนการสอน ได้แก่ มหาวิทยาลัย
โรงเรียนต่างๆ และมีการเปิดสอนวิชาคอมพิวเตอร์กันอย่างแพร่หลาย
ที่มา:http://www.oknation.net/blog/print.php?id=158559
ที่มา:http://www.pattana.ac.th/E-book_yum/COm_history/WORK/historythai.htm